วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด
การตั้งครรภ์เกิดจากการที่เชื่ออสุจิของผู้ชายเข้าไปผสมกับไข่ของผู้หญิงในท่อนำไข่ เมื่อไข่ถูกผสมพันธุ์จะเจริญเติบโตเป็นทารกในโพรงมดลูก วิธีการคุมกำเนิดส่วนใหญ่ คือ การป้องกันไม่ให้เชื้ออสุจิผสมกับไข่หรือป้องกันไม่ให้มีไข่สุกเพื่อไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดมีหลายวิธี อาจแบ่งได้เป็น วิธีคุมกำเนิดแบบถาวรแน่นอนและแบบชั่วคราว
การคุมกำเนิดแบบถาวร
วิธีการคุมกำเนิดแบบถาวร เป็นการคุมกำเนิดเพื่อหยุดการมีลูกอย่างถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่มีลูกเพียงพอต่อความต้องการหรือสภาพร่างกายไม่พร้อมต่อการมีลูก เช่น คนที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงบางชนิด ทั้งนี้ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้ แบ่งได้เป็น การทำหมันชายและการทำหมันหญิง
การทำหมันชาย
ไม่ใช่การตอนแต่อย่างใด แต่คือการทำให้ท่อน้ำเชื้ออสุจิทั้ง 2 ข้างตีบตัน โดยแพทย์จะผูก ตัด หนีบ หรือจี้ด้วยไฟฟ้า ทำให้ทางเดินอสุจิขาด อสุจิจึงไม่สามารถเดินทางผ่านเข้ามาในมดลูกได้ การทำหมันชายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีข้อดีมากกว่าการทำหมันหญิง คือ
1.             เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วกว่า ทำเสร็จภายในเวลา 15 นาที
2.             ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง
3.             พบอาการแทรกซ้อนน้อยมาก
4.             ค่าใช้จ่ายน้อย
5.             มีวิธีการทำหมันชายที่ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ต้องเย็บแผล
ข้อห้ามในการทำหมันชาย
1.             เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ
2.             มีความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ไส้เลื่อน เป็นต้น
3.             แพ้ยาชาเฉพาะที่
4.             ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเลือด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูงที่มีอาการรุนแรง
การปฏิบัติตัวหลังทำหมันชาย
1.             ควรพักผ่อนอย่างน้อย 2 วันหลังทำหมัน
2.             ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจร่วมเพศได้ตามปกติหลังทำหมันชาย 1 สัปดาห์ แต่ต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นๆ ด้วย เนื่องจากยังมีตัวอสุจิคั่งค้างอยู่อีกประมาณ 3 เดือน เมื่อได้ตรวจน้ำอสุจิแล้วไม่พบตัวอสุจิจึงจะเลิกคุมกำเนิดได้
3.             อาการผิดปกติที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ คือ มีเลือดออก มีอาการอักเสบ หรือมีก้อนบริเวณที่ทำหมัน
การทำหมันหญิง
การทำหมันหญิงเป็นการทำให้ท่อรังไข่ตีบ อุดตัน หรือขาดออกจากกัน โดยแพทย์จะผูก จี้ด้วยไฟฟ้าหรือการใช้วงแหวนรัด ทำให้ไข่เดินทางมาผสมกับอสุจิไม่ได้ ซึ่งการทำหมันหญิงสามารถทำได้ 2 ระยะ คือ หลังคลอดลูกใหม่ๆ เรียกว่า หมันเปียก และระยะเวลาปกติเรียกว่า หมันแห้ง ซึ่งการทำหมันเปียกและหมันแห้งได้ผลดีเหมือนกัน
หมันเปียกหรือหมันสด
ทำในระยะหลังคลอด 24-48 ชั่วโมง จะเป็นระยะที่ทำผ่าตัดได้ง่ายเพราะหลังคลอดลูกใหม่ๆ มดลูกยังมีขนาดใหญ่และลอดตัวสูง แพทย์จะผ่าหน้าท้องบริเวณใต้สะดือและทำการผูกหรือตัดท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ผู้ทำหมันต้องนอนพักในโรงพยาบาล 2-3 วันเท่ากับระยะเวลาพักฟื้นหลังคลอด
การทำหมันแห้งสามารถทำเมื่อใดก็ได้ มดลูกอยู่ในขนาดปกติ ซึ่งการทำหมันแห้ง
หมันแห้ง
อาจทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดหน้าท้อง การเจาะท้องทำหมันโดยใช้กล้องส่อง ทำได้สะดวก รวดเร็ว หลังจากการทำเพียง 2-3 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล
อาการแทรกซ้อน
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ เกิดการอักเสบ เป็นหนองที่บริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งไม่ได้เป็นอาการรุนแรงหรืออันตรายแต่อย่างใด เมื่อใช้ยาปฏิชีวนะรักษาเพียง 2-3 วันแผลก็จะหาย ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วอาการแทรกซ้อนมักเกิดขึ้นน้อยมาก
การปฏิบัติตัวหลังทำหมัน
กรณีผ่าตัดทำหมันหลังคลอด การปฏิบัติตัวจะไม่แตกต่างไปจากคนไข้หลังคลอดทั่วไป คือ ควรระวังอย่าให้แผลถูกน้ำและอย่าทำงานหรือยกของหนักๆ ส่วนคนที่ทำหมันแห้งนั้นจะรู้สึกเป็นปกติในวันรุ่งขึ้นและส่วนใหญ่จะสามารถทำงานเบาๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นคนที่ทำงานหนัก เช่น แบกหาม ยกของหนักๆ อาจต้องหยุดพักงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องระวังอย่าให้แผลถูกน้ำประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะตัดไหมแล้ว
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เป็นวิธีที่มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ขณะที่ใช้วิธีนี้อยู่เท่านั้น เมื่อเลิกใช้แล้วจะมีโอกาสกลับมาตั้งครรภ์ได้ปกติ ซึ่งการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวมีหลายวิธี คือ
1.             การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
2.             การใช้ถุงยางอนามัย
3.             การใช้ยาคุมกำเนิด
การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intra-uterine device-IUD)
ห่วงอนามัยเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใส่ในโพรงมดลูก เพื่อขวางกั้นไม่ให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ใช้ได้นาน อาการข้างเคียงน้อย ไม่มีผลต่อการหลั่งน้ำนม วิธีนี้เมื่อเอาห่วงออกก็ยังสามารถมีลูกได้
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
ห่วงอนามัยไม่มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและไม่มีผลต่อรังไข่หรือการควบคุมประจำเดือน กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่างรวมกัน คือ
1.             ห่วงอนามัย อาจทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่สามารถฝังตัวได้ เพราะทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมขึ้นที่เยื่อบุมดลูกหรือผนังมดลูก
2.             ทำให้ไข่เดินทางผ่านท่อรังไข่เร็วกว่าปกติ และไข่ที่ผสมแล้วยังไม่พร้อมที่จะฝังตัวเมื่อผ่านไปถึงโพรงมดลูก
3.             การเปลี่ยนแปลงในโพรงมดลูก ทำให้ขีดความสามารถของตัวอสุจิลดลง เป็นผลให้อสุจิไม่สามารถผ่านไปผสมกับไข่ได้
อาการข้างเคียง
1.             มีเลือดออกผิดปกติ อาจมีเลือดออก 2-3 วันหลังจากใส่ห่วงอนามัย ทั้งนี้เลือดจะหยุดไปเอง แต่บางคนอาจพบว่าระยะ 2-3 เดือนแระจะมีเลือดออกกระปริดกระปรอย (spotting) ในช่วงนอกเวลาประจำเดือนหรือมีประจำเดือนออกมามากกว่าปกติได้
2.             อาจมีอาการปวดท้องน้อย ซึ่งอาจจะรู้สึกปวดทันทีหลังจากใส่ห่วงอนามัยเนื่องจากการบีบรัดตัวของมดลูก แต่บางคนก็พบว่า มีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดประจำเดือนเพิ่มขึ้นในระยะ 2-3 เดือนแรกหลังใส่ห่วง
3.             อาการตกขาว หลังใส่ห่วงอนามัยอาจมีตกขาวออกมากขึ้นและจะค่อยๆ กลับเป็นปกติหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ห่วงอนามัย
1.             ผู้ที่มีประจำเดือนตามปกติควรไปพบแพทย์ภายใน 7 วันแรกของรอบเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ในขณะที่ใส่ห่วงอยู่ หรือถ้าไม่สามารถพบแพทย์ได้ก็ควรงดการร่วมเพศสัมพันธ์ หรือคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นก่อนจนกว่าจะไปพบแพทย์ได้
2.             ภายหลังการคลอดหรือแท้งบุตร ควรใส่ห่วงคุมกำเนิดเมื่อคลอดหรือแท้งแล้วเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ เพราะมดลูกคืนสู่สภาวะปกติแล้ว
ข้อห้ามของการใส่ห่วงอนามัย
1.             การอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากการใส่ห่วงอนามัยจะทำให้การอักเสบมีอาการรุนแรง
2.             เคยมีประวัติการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงต่อการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
3.             ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์
4.             เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก หรือมีเลือดประจำเดือนออกมากและนาน ต้องหาสาเหตุและรักษาให้หายก่อน
5.             เป็นมะเร็งของระบบสืบพันธุ์
คำแนะนำสำหรับผู้ใส่ห่วงอนามัย
1.             ผู้ใส่ห่วงอนามัยควรทราบข้อมูลชนิดของห่วงอนามัยและระยะเวลาที่ต้องเปลี่ยนห่วงใหม่
2.             อาการข้างเคียงที่พบได้บ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก เช่น ปวดท้องน้อย มีตกขาว เลือดออกผิดปกติเป็นต้น
3.             ควรตรวจสายห่วงอนามัยหลังประจำเดือนและหลังการร่วมเพศเป็นครั้งคราวว่าห่วงอนามัยอยู่ปกติหรือไม่ ถ้าคลำไม่พบสายห่วงอนามัย ควรรีบพบแพทย์
4.             อาการผิดปกติที่ควรรีบพบแพทย์ ได้แก่ มีอาการแสดงการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน มีอาการปวดท้องอาจน้อยหรือมากขณะร่วมเพศ มีไข้หนาวสั่น หาสาเหตุไม่ได้ ประจำเดือนขาด หรือมีเลือดออกกระปริดกระปรอยนานๆ หรือมีเลือดออกมาก
5.             ถ้าไม่เกิดอาการผิดปกติใดๆ ควรให้แพทย์ตรวจเช็คหลังใส่ห่วง 1,2,6,12 เดือนและต่อไปปีละครั้ง
การใช้ถุงยางอนามัย (Condom)
ใช้ถุงยางอนามัยคุมกำเนิดโดยสวมคลุมองคชาตขณะแข็งตัวเต็มที่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อขวางกั้นอสุจิไม่ให้เดินทางเข้าไปในมดลูกตั้งแต่แรก ซึ่งมีทั้งถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายและถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง แต่ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายได้รับความนิยมมากกว่า ถุงยางอนามัยที่นิยมใช้กันส่วนมากทำจากยางลาเทกซ์ซึ่งมีคุณภาพค่อนข้างดี คือ บาง แต่มีความเหนียว ยืดได้มาก ไม่ขาดง่าย ใช้ได้ครั้งเดียว ถุงยางอนามัยมี 2 ลักษณะ คือ
1.             ก้นถุงปลายมนธรรมดา
2.             ก้นถุงยื่นออกเป็นกระเปาะเล็กๆ
นอกจากนี้มีชนิดที่มีสารหล่อลื่นและไม่หล่อลื่น ปากเปิดของถุงยางอนามัยเป็นวงแหวนพอเหมาะสำหรับที่จะสวมใส่ได้สะดวก
วิธีใช้
1.             การใส่ถุงยางอนามัยจำเป็นต้องใส่ขณะที่องคชาตกำลังแข็งตัวเต็มที่ ก่อนที่จะสอดใส่อวัยวะเข้าช่องคลอด โดยเอาถุงยางอนามัยที่ม้วนไว้ครอบกับปลายองคชาตและรูดเข้ามาจนถึงโคนองคชาต
2.             ถ้าเป็นถุงยางอนามัยแบบปลายมน เวลาสวมถุงยางอนามัยต้องเหลือที่ตรงปลายว่างไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร ห่างจากปลายองคชาตเพื่อไว้เป้นที่รองรับน้ำอสุจิ
3.             เมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิแล้ว ฝ่ายชายต้องรีบถอนอวัยวะเพศออกพร้อมกับถุงยางอนามัยโดยใช้มือจับที่โคนถุงยางและระวังไม่ให้น้ำอสุจิเปรอะเปื้อนปากช่องคลอด
อาการข้างเคียง
พบอาการข้างเคียงน้อยมาก บางรายอาจรู้สึกคันแสบจากการแพ้สารเคมีที่อาบเคลือบถุงยางอนามัย
ข้อดีของถุงยางอนามัย
การคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะมีประสิทธิภาพดีมาก
1.             หาซื้อง่าย ใช้สะดวก และไม่มีอันตรายหรืออาการข้างเคียงใดๆ
2.             นอกจากจะมีผลป้องกันการตั้งครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น กามโรค โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ ฯลฯ
3.             ในผู้ชายที่หลั่งน้ำอสุจิเร็วผิดปกติ การใช้ถุงยางอนามัยจะสามารถช่วยควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้น เพราะความรู้สึกจากการเสียดสีลดลง
การใช้ยาคุมกำเนิด
มีหลายรูปแบบ ได้แก่
1.             ยาเม็ดคุมกำเนิด
2.             ยาฉีดคุมกำเนิด
3.             ยาฝังคุมกำเนิด
ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือผูกท่อนำไข่
ทำให้ไข่เดินทางมาผสมกับอสุจิไม่ได้เช่นเดียวกันมาในมดลูกได้ เป็นวิธีคุมกำเนิดชั่วคราวที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนปริมาณและชนิดของฮอร์โมนสังเคราะห์ทำให้อาการข้างเคียงลดน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพในการตั้งครรภ์ได้สูง ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเพศหญิง มีหลายชนิด ทั้งที่มีฮอร์โมนตัวเดียว กับที่เป็นฮอร์โมน 2 ตัว หรือที่เรียกกันว่า ยาคุมกำเนิดชนิดรวม รูปแบบต่างๆ ของยาเม็ดคุมกำเนิด
1.             ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด
2.             ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนชนิดเดียว
3.             ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด (Combined Pill)
ประกอบด้วยฮอร์โมนเพศหญิง 2 ประเภท ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ปกติจะมีอยู่แล้วภายในร่างกาย มีหน้าที่ทำให้กระบวนการต่างๆในรอบเดือนเป็นไปอย่างปกติ การรับประทานฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มเข้าไป จะไปรบกวนกระบวนการต่างๆ ในร่างกายที่เอื้อต่อการสืบพันธุ์ โดยจะทำให้ร่างกายไม่มีการตกไข่ ผนังมดลูกเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมาะสมกับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม มูกปากมดลูกเหนียวข้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของอสุจิ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของมดลูกและท่อนำไข่ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะรบกวนการเดินทางของไข่และอสุจิ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้จึงมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่นิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด ในหนึ่งรอบเดือนจะได้รับยาฮอร์โมนเป็นเวลา 21 วัน และเว้นช่วงการได้ยาไปอีก 7 วัน จึงจะรับประทานยากันต่อไป การเว้นช่วงการรับฮอร์โมนนี้จะทำให้ร่างกายมีประจำเดือนมาได้ตามปกติ คือ เมื่อหยุดยาคุมประมาณ 3 ถึง 4 ประจำเดือนก็จะมาตามปกติ ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ
1.             ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด (Monophasic Pill) รูปแบบของยาบรรจุอยู่ในแผง มีทั้งแบบปริมาณ 21 เม็ด และ 28 เม็ด แต่เม็ดที่มีฮอร์โมนอยู่จริงจะมีเพียง 21 เม็ดเท่านั้น ส่วน 7 เม็ดที่เพิ่มเข้ามาจะไม่มีตัวยา ทั้งนี้เพื่อให้บางคนง่ายต่อการจดจำ คือ สามารถรับประทานยาได้ทุกวัน วันละเม็ด เมื่อหมดแผงก็เริ่มแผงใหม่ ไม่ต้องรอ 7 วัน
2.             ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนไม่เท่ากันในแต่ละเม็ด
ทำขึ้นเพื่อเลียนแบบปริมาณฮอร์โมนในร่างกายที่หลั่งออกมามาเท่ากันในแต่ละช่วง ทำให้ผนังมดลูกในแต่ละรอบเดือนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก มีทั้งแบบฮอร์โมน 2 ระดับ (Biphasic Pill) (ไม่นิยมใช้) และฮอร์โมน 3 ระดับ (Triphasic Pill)
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
โดยทั่วไปการรับประทานยาในแผงแรก จะยังไม่สามารถคุมกำเนิดได้ในช่วง 15 วันแรก หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ ควรใช้วิธีการอื่นๆในการคุมกำเนิดควบคู่ไปด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น และ
 การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด
เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกที่หัวลูกศรของแผง(เป็นยาเม็ดที่มีฮอร์โมน)ในวันแรกของการมีประจำเดือน(นับว่าวันนั้นเป็นวันแรกของรอบเดือน) แล้วรับประทานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกวัน วันละเม็ดจนหมดแผง หากเป็นแผงที่มี 21 เม็ด ก็เว้น 7 วันแล้วค่อยเริ่มแผงใหม่ ถ้าเป็นแผงที่มี 28 เม็ด ก็ไม่ต้องเว้น สามารถกินยาแผงต่อไปได้เลย ทั้งนี้ การรับประทานยาคุมกำเนิดในแผงต่อๆไป เราไม่ต้องสนใจว่าวันแรกที่ได้รับยาเม็ดที่มีฮอร์โมนจะเป็นวันแรกที่มีประจำเดือนมาหรือไม่หรือประจำเดือนหมดหรือยัง เพียงแต่รับประทานยาตามวันที่กำหนดไว้แล้วก็พอ กล่าวคือ กล่าวคือ เมื่อได้ยาฮอร์โมน 21 วัน และเว้น 7 วัน แล้วก็สามารถทานยาแผงต่อไปได้เลย
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนไม่เท่ากันในแต่ละเม็ด
ยาเม็ดคุมกำเนิด 2 ระดับ (Oilezz)รับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกของการมีประจำเดือน รับประทานยาวันละเม็ด ในหนึ่งแผง จะมียา 22 เม็ด เริ่มรับประทานจากเม็ดสีฟ้า ซึ่งมีทั้งหมด 7 เม็ด จากนั้นก็รับประทานในส่วนของเม็ดสีขาวอีก 15 เม็ด เว้นช่วงรับประทานยา 6 วันแล้วจึงเริ่มยาแผงใหม่ ยาเม็ดคุมกำเนิด 3 ระดับ มี 2 ตัว
1.             ไตรควิล่าร์ (Triquilar) รับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกของการมีประจำเดือนให้ตรงวันใน ส่วนของแถบสีแดง แล้วรับประทานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกวัน วันละเม็ด จนหมดแผง แล้วเริ่มแผงใหม่เลย โดยเริ่มแผงในเม็ดเดิมที่เคยเริ่มแผงที่แล้ว
2.             ไตรไซเลสต์ (Tricilest) รับประทานยาวันแรกของการมีประจำเดือน โดยเริ่มจากเม็ดสีขาว รับประทานยาทุกวัน วันละเม็ด ตามลูกศรจนหมดแผง (เม็ดสีเขียวซึ่งเป็นยาเม็ดสุดท้ายจะไม่มีฮอร์โมน) เมื่อหมดแผงแล้วสามารถเริ่มแผงใหม่ได้เลยในวันต่อไป
การรับประทานยาคุมกำเนิดในช่วงต่างๆ
ประจำเดือนปกติ เริ่มรับประทานยาในวันแรกของการมีประจำเดือนหรือภายใน 5 วันหลังจากมีประจำเดือนวันแรกหลังคลอดบุตร เริ่มรับประทานยาในสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง ควรใช้ยาคุมกำเนิดแบบมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเดี่ยวๆ เพราะหากใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนด้วยจะทำให้น้ำนมแห้ง หลังแท้งเริ่มรับประทานยาในวันรุ่งขึ้นหลังจากขูดมดลูกหรือภายใน 1 สัปดาห์หลังทำแท้ง หลังผ่าตัดใหญ่ หรือสภาวะที่ร่างกายลุกเดินไม่ได้ ควรเริ่มรับประทานยาหลังจากลุกเดินไม่ได้แล้ว 2 สัปดาห์ (เพื่อกันการอุดตันของเส้นเลือด)
อาการข้างเคียงช่วงแรกๆ
ในการรับประทานยาแผงแรกๆ อาจมีการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะได้บ้าง หากทนได้ควรทนไปก่อนและรับประทานยาต่อไป ประมาณ 2 ถึง 3 เดือนก็จะดีขึ้น เพราะร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับตัวระยะหนึ่งแต่หากมีอาการมาก ทนไม่ไหว ก็ควนไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำในการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดหรือหาวิธีแก้ไขอื่นๆต่อไป
ความแตกต่างของยาคุมกำเนิดแต่ละประเภท
สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1.             ความแตกต่างในปริมาณของเอสโตรเจน
2.             ความแตกต่างในชนิดของโปรเจสเตอโรน
ความแตกต่างในปริมาณของเอสโตรเจน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีในยาคุมกำเนิด มีชื่อว่า เอทินิลเอสตราไดออล (Ethinylrstradiol) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันหมดทุกยี่ห้อ ต่างกันในปริมาณฮอร์โมนที่มี โดยจะมีปริมาณ 0.05, 0.035, 0.030, 0.020 กรัม (หรือ 50, 35, 30, 20 ไมโครกรัม) โดยปริมาณเอสโตรเจนที่ใช้เคยมีปริมาณสูงกว่านี้มาก แต่ต่อมามีการค้นพบว่าปริมาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็สามารถยับยังการตกไข่ของผู้หญิงได้ ปริมาณเอสโตรเจนที่น้อยลงจะทำให้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะลดลงได้ คนที่ทานยาคุมกำเนิดแล้วรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้มาก สามารถเปลี่ยนไปใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสฌตรเจนต่ำที่สุด คือ 0.020 กรัม อย่างไรก็ตามในบางคนปริมาณเอสโตรเจนที่น้อยเกินไปอาจทำให้มีเลือดคล้ายประจำเดือน ในช่วงแรกของการมีรอบเดือนหรือประจำเดือนขาดหายไปก็ได้ ถ้าเกิดอาการนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเปลี่ยนยาคุมกำเนิดให้มีปริมาณเอสโตรเจนที่สูงขึ้นได้เช่นกัน สำหรับคนที่มีรูปร่างผอมและต้องการให้ตัวเองดูมีเนื้อมีหนังมากขึ้น ควรเลือกทานยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนสูงขึ้น คือ 0.035 กรัม แต่คนที่ไม่ต้องการให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรเลือกใช้ฮอร์โมนในปริมาณที่น้อยลงมาตามลำดับ เพราะเอสโตรเจนทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือ รวมทั้งมีไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มพูนขึ้น เอสโตรเจนส่งผลดีต่อคนที่มีปัญหาสิว เพราะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง การใช้ฮอร์โมนนี้ในปริมาณที่สูงขึ้นอาจลดการเกิดสิวได้ ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ควรเลือกการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น นิ่วในถุงน้ำดี โดยเฉพาะผู้หญิงอ้วน โรคลมชัก ผิวหนังบริเวณโหนกแก้มมีสีเข้มขึ้น หรือเป็นฝ้า มีปัญหาทางตับ
อาการผิดปกติจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
1.             คลื่นไส้ อาเจียน
2.             อาการผิดปกติของเต้านม โดยอาจมีการขยายใหญ่ แข็งขึ้น เจ็บ
3.             ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น
4.             ปวดขาและเป็นตะคริวที่ขา
5.             เส้นเลือดดำขอด (ฯลฯ)
หากมีอาการเหล่านี้ควรลดปริมาณเอสโตรเจนลง หากยังไม่หายอาจทานเป็นยาคุมกำเนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว หรือเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแทน สำหรับผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรและต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง ควรใช้ยาคุมกำเนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว เพราะหากใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนจะมีผลทำให้น้ำนมแห้ง ทั้งนี้สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดได้ในสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด
ความแตกต่างในชนิดของโปรเจสเตอโรน
ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีหลายรุ่นด้วยกัน พบว่าในรุ่นหลังๆ มีความปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า เพราะไม่ส่งผลเสียในเรื่องความผิดปกติของไขมันในเส้นเลือด โปรเจสเตอโรนในรุ่นแรกๆ สามารถออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศชายได้ทำให้เกิดสิว หน้ามัน ขนดก เป็นผื่นคันตามผิวหนัง ศีรษะล้านแบบผู้ชาย อารมณ์ทางเพศมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาฮอร์โมนรุ่นหลังๆ จึงพยายามลดฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายลง เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว
ข้อห้ามการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวม
1.             เป็นโรคของระบบเส้นเลือดและภาวะอุดตันของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง (ยกเว้นเส้นเลือดดำขอด)
2.             เคยเป็นโรคหัวใจวาย
3.             เป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
4.             ความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการรักษา (ยกเว้นคนที่เป็นความดันโลหิตสูงจากครรภ์เป็นพิษ)
5.             เบาหวานที่มีโรคของระบบเส้นเลือดร่วมด้วย
6.             เนื้องอกของต่อมใต้สมอง
7.             เนื้องอกที่ขึ้นกับฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ที่เต้านม เป็นต้น
8.             มะเร็งเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์
9.             มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
10.      ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์
11.      เป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ (ยกเว้นโรคตับที่รักษาจนหน้าที่ของตับกลับสู่ปกติแล้ว)
12.      นิ่วในถุงน้ำดี
13.      อายุเกิน 35 ปีและสูบบุหรี่
14.      ภาวะลำไส้ดูดซึมอาหารไม่ดี
โรคหรือภาวะที่ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวม
1.             สูบบุหรี่มาก
2.             โรคเบาหวาน
3.             มีไขมันในเลือดสูง
4.             เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน
5.             มีรอบเดือนผิดปกติและการไม่มีประจำเดือนที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
6.             มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
7.             โรคลมชัก
8.             โรคไตที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
9.             โรคหรือสภาวะบางอย่างที่ทำให้ต้องอยู่ในสภาวะนิ่งหรือลุกเดินไม่ได้เป็นเวลานาน
10.      มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
เมื่อลืมทานยาคุมกำเนิด
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดให้ต่อเนื่องกันทุกวันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฮอร์โมนในยาจะไปยับยั้งการตกไข่ ดังนั้น หากลืมกินยาบ่อยๆ ก็อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 7 เม็ดแรกของแผง
 หากลืม 1 เม็ด
ให้รับประทานยาเม็ดนั้นทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้านึกได้ในวันรุ่งขึ้นก็ให้รับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เม็ด ในเวลาเดิมที่เคยรับประทาน หากรับประทานยาเลย 12 ชั่วโมงจากการรับประทานปกติ ควรใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างน้อย 7 วัน
หากลืม 2 เม็ดติดต่อกัน
ให้รับประทานยาเพิ่ม เป็นวันละ 2 เม็ด ใน 2 วันถัดไป เช่น ถ้าลืมรับประทานยาในวันจันทร์กับอังคาร ในวันพุธก็รับประทาน 2 เม็ด และวันพฤหัสบดีก็รับประทาน 2 เม็ด จากนั้นก็รับประทานยาวันละเม็ดไปเรื่อยๆจนหมดแผง ควรใช้ถุงยางอนามัยหรือยาคุมกำเนิดวิธีอื่นๆร่วมด้วย อย่างน้อยช่วง 7 วันหลังลืมรับประทานเพื่อป้องกันการตังครรภ์
หากลืมมมากว่า 2 เม็ดติดต่อกัน
ให้หยุดยาคุมกำเนิดแผงที่รับประทานอยู่ หากมีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้ต้องใช้ถุงยางอนามัย รอจนกว่าเลือดประจำเดือนจะมา แล้วรับประทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่ในวันแรกที่ประจำเดือนมา กรณีนี้ ช่วง 15 วันแรกของยาแผงใหม่ นับว่าไม่ปลอดภัย ต้องใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่นๆร่วมด้วย ลืมยาเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน (ยา 7 เม็ดสุดท้ายของยาคุมแบบ 28 เม็ด) ให้ทิ้งยาเม็ดที่ลืมนั้นไป แล้วก็รับประทานยาเม็ดในส่วนที่เหลือวันละ 1 เม็ดต่อไปจนหมดแผง แล้วเริ่มรับประทานยาแผงต่อไปได้ตามปกติไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วย หากทานยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วไม่มีประจำเดือนมา ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อน หากไม่มีการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาคุมกำเนิด
ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนชนิดเดียว (Micro dose)
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ตัวเดียวในปริมาณน้อยๆ เท่ากันทุกเม็ด และมีฮอร์โมนทั้งหมด 28 เม็ด รับประทานวันละเม็ดติดต่อกันไม่หยุด ข้อดีของยาคุมกำเนิดประเภทนี้คือ จะไม่มีผลข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดจากเอสโตรเจนและไม่ส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรต ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของยาคุมประเภทนี้จะด้อยกว่ายาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด ป้องกันได้ต่ำมาก เพราะร่างกายของหญิงยังมีการตกไข่ได้อยู่ แต่ฤทธิ์การคุมกำเนิดเกิดจากยาที่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้ไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้มูกปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น อสุจิจึงผ่านไปได้น้อย การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้ เพื่อให้ผลดีที่สุดนอกจากจะทานในเวลาเดียวกันทุกวันแล้ว ยังควรกะเวลาให้เป็นช่วงก่อนมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4 ชั่วโมง เพราะยาจะออกฤทธิ์
 ข้อจำกัดของการใช้ยา
ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของยาคุมชนิดนี้คือ อาจทำให้เกิดการแปรปรวนของประจำเดือน เช่น รอบประจำเดือนอาจจะมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ มีเลือดออกผิดปกติในระหว่างรอบเดือนอาจมีประจำเดือนขาดหายไป หากมีประจำเดือนขาดหายไประหว่างใช้ยาควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเสมอ เพราะอาจเกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนิดหรือเกิดจากการตั้งครรภ์ก็ได้
ยาคุมชนิดนี้เหมาะสำหรับ
1.             คนที่ทนฤทธิ์เอสโตรเจนไม่ได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะมาก หรือคนที่มีข้อห้ามใช้เอสโตรเจน เช่น มีประวัติการเป็นโรคเส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
2.             สตรีที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเอง เพราะไม่ทำให้น้ำนมแห้ง
3.             คนที่อายุมากกว่า 35 ปี และสูบบุหรี่ เพราะถ้าใช้ยาคุมกำเนิดแบบที่มีเอสโตรเจนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอกเลือดหัวใจมากกว่า
4.             เป็นเบาหวานและต้องการคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
5.              ระหว่างใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคบางอย่าง เพราะประสิทธิภาพของยาประเภทนี้ไม่ถูกรบกวน
 ข้อห้ามใช้
ไม่มีข้อห้ามใช้ยาอย่างเด็ดขาด เพราะส่งผลต่อระบบในร่างกายน้อย
สภาวะที่ไม่ควรใช้ยา
1.             มีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูก
2.             เลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
3.             มีประวัติเป็นดีซ่านขณะตั้งครรภ์
4.             ใช้ยาบางอย่าง หรืออยู่ในระหว่างการรักษาโรคบางชนิด
หากลืมรับประทานยา
หากลืม 1 เม็ด
ให้รับประทานยาเม็ดนั้นทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้านึกได้ในวันรุ่งขึ้นก็ให้รับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เม็ด ในเวลาเดิมที่เคยรับประทาน หากรับประทานยาเลย 12 ชั่วโมงจากการรับประทานปกติ ควรใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่นๆร่วมด้วย อย่างน้อย 7 วัน
หากลืม 2 เม็ดติดต่อกัน
ให้รับประทานยาเพิ่ม เป็นวันละ 2 เม็ด ใน 2 วันถัดไป เช่น ถ้าลืมรับประทานยาในวันจันทร์กับอังคาร ในวันพุธก็รับประทาน 2 เม็ด และวันพฤหัสบดีก็รับประทาน 2 เม็ด จากนั้นก็รับประทานยาวันละเม็ดไปเรื่อยๆจนหมดแผง ควรใช้ถุงยางอนามัยหรือยาคุมกำเนิดวิธีอื่นๆร่วมด้วย อย่างน้อยช่วง 7 วันหลังลืมรับประทานเพื่อป้องกันการตังครรภ์
หากลืมมากว่า 2 เม็ดติดต่อกัน
ให้หยุดยาคุมกำเนิดแผงที่รับประทานอยู่ หากมีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้ต้องใช้ถุงยางอนามัย รอจนกว่าเลือดประจำเดือนจะมา แล้วรับประทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่ในวันแรกที่ประจำเดือนมา กรณีนี้ ช่วง 15 วันแรกของยาแผงใหม่ นับว่าไม่ปลอดภัย ต้องใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่นๆร่วมด้วย
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
เป็นการรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ภายหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว วิธีนี้มีความเสี่ยงสูง ไม่แนะนำให้ใช้ประจำ ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น
ข้อบ่งใช้
1.             มีเพศสัมพันธ์อย่างกะทันหันโดยไม่ได้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นอยู่ก่อน
2.             ถูกข่มขืน
3.             ถุงยางอนามัยขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
4.             ลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดบ่อยครั้ง
การออกฤทธิ์
ตัวยาออกฤทธิ์โดยไปรบกวนการปฏิสนธิทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน รบกวนการเดินทางของไข่และอสุจิ
การใช้ยา
ต้องให้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ อย่างช้าที่สุดไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง การทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ต้องทานเม็ดแรกภายใน 24 ถึง 72 ชั่วโมง (ยิ่งเร็วยิ่งดี) แล้วเว้นระยะ 12 ชั่วโมงจึงทาน
 อาการข้างเคียง
การทานฮอร์โมนในปริมาณที่สูงมากขนาดนี้จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก และบ่อยครั้งจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน คืออาจมาเร็วหรือช้าลงได้ แม้จะรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไปแล้ว ก็อาจยังมีการตั้งครรภ์ขึ้นได้ ซึ่งฮอร์โมนที่รับประทานนี้อาจส่งผลทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ เช่น ทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ หลอดลม กระดูกสันหลัง หลอดอาหาร ไต แขนขวา ทวารหนัก หรือหากเป็นทารกเพศหญิง จะทำให้เกิดความผิดปกติบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้กับคนที่เป็นโรคตับหรือนิ่วในถุงน้ำดี ไม่ควรใช้ในมารดาให้นมบุตร ผู้หญิงตั้งครรภ์
ข้อดีและประโยชน์อื่นๆ
ของการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด
1.             ใช้ลดอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ
2.             รักษากลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน
3.             ใช้ในคนที่มีประจำเดือนมาผิดปกติหรือมีประจำเดือนออกมากเกินไป
4.             ใช้ในภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
5.             ใช้ในคนที่มีภาวะเต้านมคัด หลังคลอดบุตร
6.             รักษาสิวควบคู่กับการคุมกำเนิด
7.             เลื่อนประจำเดือน
8.             รักษาอาการขนขึ้นมากตามร่างกายที่ไม่ทราบสาเหตุเป็นบางราย
9.             บรรเทาภาวะถุงน้ำของรังไข่ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
10.      รักษาอาการผู้หญิงในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือนไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน เพื่อควบคุมประจำเดือนที่มาผิดปกติ และยังป้องกันภาวะกระดูกพรุน โดยคุมกำเนิดไปด้วยในตัว (ควรใช้ประเภทที่มีฮอร์โมนต่ำ) โดยต้องไม่สูบบุหรี่และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ยาฉีดคุมกำเนิด
เป็นการนำฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนอย่างเดียวมาใช้เป็นยาฉีดคุมกำเนิดทุกๆ 3 เดือนเพื่อความสะดวกในการใช้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง อาการข้างเคียงน้อย ออกฤทธิ์ได้นาน ทั้งนี้จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้กระทำให้
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
ยาฉีดคุมกำเนิดออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ได้คล้ายกับฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด คือ
1.             ระงับการสุกของไข่
2.             เปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก ทำให้ไม่เหมาะที่ไข่จะฝังตัว
3.             ทำให้มูกปากมดลูกมีน้อยและเหนียวกว่าปกติจนตัวอสุจิไม่สามารถผ่านไปได้
อาการข้างเคียง
1.             ระยะแรกที่ใช้ยานี้ผู้ใช้มักมีเลือดออกกระปริดกระปรอย และหลังจากใช้ยานี้ได้ประมาณ 1 ปี ประจำเดือนมักจะขาดหายไป อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้
2.             อาการข้างเคียงอื่นๆ พบได้น้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
3.             อาจมีฝ้าขึ้นที่หน้า
4.             มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ข้อห้ามในการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
เนื่องจากยานี้เป็นยาพวกโปรเจสโตรเจนจึงมีข้อห้ามคล้ายกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ทั้งนี้ยานี้เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือต้องการจะคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ แต่ไม่เหมาะกับผู้หญิงที่ยังมีลูกน้อยและต้องการคุมกำเนิดเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเมื่อเลิกใช้ยานี้แล้วอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งครรภ์ได้อีก

ยาฝังคุมกำเนิด
เป็นวิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนที่มีประสิทธิภาพสูงมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี ลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ 6 หลอด ใช้ฝังใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนท่อนบน ซึ่งภาวะการเจริญพันธุ์หลังการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นไปตามปกติ เนื่องจากขณะใช้ยามีฮอร์โมนกระจายออกไปในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสม ระหว่างที่ฝังยานั้นไม่จำเป็นต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษต่อหลอดฮอร์โมนที่ฝังไว้ ทั้งนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้กระทำให้ ซึ่งแพทย์จะตรวจร่างกายให้ก่อนเสมอ เมื่อต้องการมีบุตรหรือครบกำหนดอายุการใช้งานแล้วแพทย์ก็จะถอดยาฝังออกให้
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
1.             ระงับการตกไข่
2.             ทำให้มูกปากมดลูกขุ่นข้น ตัวอสุจิผ่านเข้าไปได้ยาก
3.             ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะที่ไข่ที่ถูกผสมแล้วมาฝังตัว
ผู้ที่เหมาะกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด
1.             ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว
2.             ผู้ที่กลัวการผ่าตัดทำหมัน หรือยังไม่พร้อมที่จะทำหมัน
3.             ผู้ที่ไม่เหมาะกับการคุมกำเนิดแบบใส่ห่วง ใช้ยาเม็ดหรือยาฉีดคุมกำเนิด
4.             ผุ้ที่มีข้อบ่งห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่มหรือหน้าเป็นฝ้านั้นพบน้อยมาก ที่พบมากได้แก่ การมีประจำเดือนผิดปกติคล้ายกับการฉีดยาคุมฉุกเฉิน
ข้อห้ามในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ข้อห้ามใช้เหมือนกับยาฉีดคุมกำเนิดและยาเม็ดคุมกำเนิด เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือต้องการจะคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ แต่ไม่เหมาะกับผู้หญิงที่ยังมีลูกน้อยและต้องการคุมกำเนิดเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเมื่อเลิกใช้ยานี้แล้วอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งครรภ์ได้อีก
การนับช่วงระยะปลอดภัยของผู้หญิง
การนับระยะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ของผู้หญิงหรือที่เรียกว่าระยะ หน้าเจ็ด หลังเจ็ดโดยนับวันที่มีประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของการเริ่มต้น ช่วงปลอดภัยคือ ก่อนประจำเดือนมาวันแรก 7 วันและตั้งแต่ประจำเดือนมาวันแรกอีก 7 วัน การใช้วิธีนี้ไม่เหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตรงจากปกติและมีโอกาสเสี่ยงเกิดความผิดพลาดได้สูง
การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด (การหลั่งนอก)
วิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้สูง เพราะมีโอกาสที่น้ำอสุจิจะหลุดเข้าไปในช่องคลอดได้ จึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย รับประทานยาคุมกำเนิด
ยาฉีดคุมกำเนิด
เป็นการนำฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนอย่างเดียวมาใช้เป็นยาฉีดคุมกำเนิดทุกๆ 3 เดือนเพื่อความสะดวกในการใช้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง อาการข้างเคียงน้อย ออกฤทธิ์ได้นาน ทั้งนี้จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้กระทำให้
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
ยาฉีดคุมกำเนิดออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ได้คล้ายกับฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด คือ
1.             ระงับการสุกของไข่
2.             เปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก ทำให้ไม่เหมาะที่ไข่จะฝังตัว
3.             ทำให้มูกปากมดลูกมีน้อยและเหนียวกว่าปกติจนตัวอสุจิไม่สามารถผ่านไปได้
อาการข้างเคียง
1.             ระยะแรกที่ใช้ยานี้ผู้ใช้มักมีเลือดออกกระปริดกระปรอย และหลังจากใช้ยานี้ได้ประมาณ 1 ปี ประจำเดือนมักจะขาดหายไป อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้
2.             อาการข้างเคียงอื่นๆ พบได้น้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
3.             อาจมีฝ้าขึ้นที่หน้า
4.             มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
5.             ยานี้ไม่มีผลต่อการหลั่งน้ำนมของมารดาที่กำลังให้นมบุตร
ข้อห้ามในการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
เนื่องจากยานี้เป็นยาพวกโปรเจสโตรเจนจึงมีข้อห้ามคล้ายกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ทั้งนี้ยานี้เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือต้องการจะคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ แต่ไม่เหมาะกับผู้หญิงที่ยังมีลูกน้อยและต้องการคุมกำเนิดเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเมื่อเลิกใช้ยานี้แล้วอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งครรภ์ได้อีก
ยาฝังคุมกำเนิด
เป็นวิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนที่มีประสิทธิภาพสูงมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี ลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ 6 หลอด ใช้ฝังใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนท่อนบน ซึ่งภาวะการเจริญพันธุ์หลังการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นไปตามปกติ เนื่องจากขณะใช้ยามีฮอร์โมนกระจายออกไปในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสม ระหว่างที่ฝังยานั้นไม่จำเป็นต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษต่อหลอดฮอร์โมนที่ฝังไว้ ทั้งนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้กระทำให้ ซึ่งแพทย์จะตรวจร่างกายให้ก่อนเสมอ เมื่อต้องการมีบุตรหรือครบกำหนดอายุการใช้งานแล้วแพทย์ก็จะถอดยาฝังออกให้
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
1.             ระงับการตกไข่
2.             ทำให้มูกปากมดลูกขุ่นข้น ตัวอสุจิผ่านเข้าไปได้ยาก
3.             ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะที่ไข่ที่ถูกผสมแล้วมาฝังตัว
ผู้ที่เหมาะกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด
1.             ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว
2.             ผู้ที่กลัวการผ่าตัดทำหมัน หรือยังไม่พร้อมที่จะทำหมัน
3.             ผู้ที่ไม่เหมาะกับการคุมกำเนิดแบบใส่ห่วง ใช้ยาเม็ดหรือยาฉีดคุมกำเนิด
4.             ผุ้ที่มีข้อบ่งห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่มหรือหน้าเป็นฝ้านั้นพบน้อยมาก ที่พบมากได้แก่ การมีประจำเดือนผิดปกติคล้ายกับการฉีดยาคุมฉุกเฉิน
ข้อห้ามในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ข้อห้ามใช้เหมือนกับยาฉีดคุมกำเนิดและยาเม็ดคุมกำเนิด เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือต้องการจะคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ แต่ไม่เหมาะกับผู้หญิงที่ยังมีลูกน้อยและต้องการคุมกำเนิดเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเมื่อเลิกใช้ยานี้แล้วอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งครรภ์ได้อีก
ยาคุมกำเนิดรูปแบบอื่น
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ เพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น เหมาะกับผู้ที่ขี้ลืม หรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ แผ่นแปะคุมกำเนิดภายในบรรจุตัวยาฮอร์โมนไว้คล้ายกับในยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไปแต่เมื่อแปะแผ่นยาไว้ตัวยาจะค่อยๆ ปล่อยตัวฮอร์โมนออกมาผ่านผิวหนัง แล้วเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปออกฤทธิ์คุมกำเนิด การปลดปล่อยตัวยาในรูปแบบนี้จะทำให้มีระดับยาในเลือดที่สม่ำเสมอกว่าการรับประทานยา นอกจากนี้ยังสามารถลดอาการข้างเคียงในเรื่องคลื่นไส้อาเจียนลงได้ ยาในรูปแบบนี้บรรจุฮอร์โมนทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไว้ ข้อห้ามใช้และผลข้างเคียงอื่นๆ จึงยังคงมีเหมือนในยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ชนิด
วิธีใช้
แผ่นแรกให้แปะในวันแรกของการมีประจำเดือนมา อาจแปะบริเวณหน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก ก้น สะโพก หรือแผ่นหลังช่วงบน (ไม่แปะบริเวณหน้าอก) แผ่นแปะ 1 แผ่นมีฤทธิ์ได้ 1 สัปดาห์ เมื่อถึงวันที่ 8 และ 15 ของรอบเดือนก็ต้องดึงแผ่นเก่าออก แล้วเปลี่ยนแผ่นใหม่ (แปะสัปดาห์ละแผ่น) พอครบ 3 สัปดาห์ (3 แผ่น) ก็ให้เว้นช่วง ไม่ต้องแปะแผ่นคุมกำเนิดเป็นเวลา 7 วัน ในระหว่างนี้ประจำเดือนจะมา และเมื่อครบ 7 วันแล้ว ก็แปะแผ่นต่อไปได้เลย ไม่ว่าประจำเดือนจะหมดหรือไม่ก็ตามและเช่นเดียวกันกับการรับประทานยาคุมกำเนิด หากไม่เคยคุมกำเนิดมาก่อน ในช่วงเวลา 15 วันแรกของการใช้ยา ยาจะยังไม่ออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด แต่จากนั้นจะคุมกำเนิดได้ตลอด การแปะแผ่นคุมกำเนิดอาจเปลี่ยนบริเวณที่แปะได้ เพื่อลดการระคายเคืองของผิวหนัง (อาจจะแปะในที่ใกล้เคียงกันก็ได้แต่ไม่ควรซ้ำรอยเดิม) ก่อนแปะไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้ง เพราะอาจไปรบกวนการดูดซึมของตัวยาผ่านผิวหนัง และไม่ควรใช้ยาในรูปแบบนี้หากมีการระคายเคืองหรือแพ้มากๆ นอกจากนี้ ควรระมัดระวังเวลาอาบน้ำ ไม่ควรไปถูแรงๆ เพราะอาจทำให้แผ่นยาหลุด หากแผ่นยาหลุดสามารถอ่านวิธีแก้ไขเพิ่มเติมได้ที่กล่องของยาประเภทนี้ และควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้เข้าใจก่อนใช้
ข้อควรระวัง
หลังจากเปลี่ยนแผ่นคุมกำเนิดเป็นแผ่นใหม่แล้ว ควรทิ้งยาแผ่นเก่าให้เรียนร้อย อย่าให้เด็กหรือบุคคลอื่นนำยาแผ่นเก่าไปแปะเล่น เพราะยังมีตัวยาฮอร์โมนตกค้างอยู่ที่แผ่น อาจทำให้เกิดอันตรายได้
การนับช่วงระยะปลอดภัยของผู้หญิง
การนับระยะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ของผู้หญิงหรือที่เรียกว่าระยะ หน้าเจ็ด หลังเจ็ดโดยนับวันที่มีประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของการเริ่มต้น ช่วงปลอดภัยคือ ก่อนประจำเดือนมาวันแรก 7 วันและตั้งแต่ประจำเดือนมาวันแรกอีก 7 วัน การใช้วิธีนี้ไม่เหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตรงจากปกติและมีโอกาสเสี่ยงเกิดความผิดพลาดได้สูง
กลุ่มอายุการคุมกำเนิดและไม่คุมกำเนิด
      กลุ่มอายุระหว่าง 15-19 ปี ไม่คุมกำเนิดร้อยละ 30.4 คุมกำเนิดร้อยละ 69.6 กลุ่มอายุระหว่าง 20-24 ปี ไม่คุมกำเนิดร้อยละ 22.3  คุมกำเนิดร้อยละ 77.7 กลุ่มอายุระหว่าง 25-29 ปี ไม่คุมกำเนิด 23.6 คุมกำเนิด 76.4 กลุ่มอายุระหว่าง 30-34 ปี ไม่คุมกำเนิดร้อยละ 19.8 คุมกำเนิดร้อยละ 80.2 กลุ่มอายุระหว่าง 35-39 ปี ไม่คุมกำเนิดร้อยละ15.0 คุมกำเนิดร้อยละ85.0 กลุ่มอายุระหว่าง 40-44 ปี ไม่คุมกำเนิดร้อยละ 17.7 คุมกำเนิดร้อยละ 82.3 กลุ่มอายุระหว่าง 45-49 ปีไม่คุมกำเนิดร้อยละ 24.0 คุมกำเนิดร้อยละ 76.0
                                       กราฟแสดงการคุมกำเนิดและไม่คุมกำเนิด



กราฟแสดงการไม่คุมกำเนิดคิดเป็นร้อยละ 79.6  การไม่คุมกำเนิดคิดเป็นร้อย 20.4
กราฟแสดงวิธีการคุมกำเนิด


วิธีการคุมกำเนิดของหญิงอายุระหว่าง 15-49 ปีมีทั้งหมดที่ตนเองหรือสามีเลือกคุมกำเนิดโดยวิธีการคุมกำเนิดต่างๆ โดยวิธีที่เลือกใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ยาคุมกำเนิดร้อยละ 40.0 ตามด้วยการทำหมันหญิงร้อยละ 24.8 ยาฉีดคุมกำเนิดร้อยละ 14.0 ถุงยางอนามัยร้อยละ 9.2 การทำหมันชายร้อยละ 2.0 ห่วงอนามัยร้อยละ2.7 ยาฝังคุมกำเนิดร้อยละ 2.3 ยาคุมฉุกเฉินร้อยละ 7.2
อัตราการคุมกำเนิดผันแปรตามอายุของวัยแต่ละวัย หญิงที่มีอายุน้อยนิยมคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เช่น การกินยาคุมฉุกเฉิน ขณะที่หญิงอายุระหว่าง 40-49 ปี นิยมใช้การคุมกำเนิดแบบถาวร เช่น การทำหมันหญิง การใส่ห่วงอนามัย
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากกินง่าย ไม่เจ็บตัวได้ผลดีและหาได้ง่าย
สำหรับยาเม็ดที่กินหลังมีเพศสัมพันธุ์นิยมใช้ในหมู่วัยรุ่น  
 อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki

1 ความคิดเห็น: